แรงบันดาลใจสำคัญของการตบแต่งห้องทับเที่ยงนี้มาจาก ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าดังจะเห็น ได้จาก การเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ในสยามประเทศ เพื่อรับรู้รับทราบปัญหาของ ท้องถิ่นนั้นดุจพ่อดู แลลูก จากพระราชกรณียกิจนานับประการที่ทรงพัฒนาประเทศไทยให้ เจริญกว่าประเทศโดยรอบ จึงทรงได้รับการถวายพระสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" แปลว่า "พระราชาอันเป็นที่รักยิ่ง" ทับเที่ยง คืออีกชื่อของเมืองตรัง มีที่มาจากสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จ ประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ เมื่อเสด็จถึงเมือง ควนธานี (บริเวณศาลหลักเมือง) เป็นเวลาเที่ยงพอดี ชาว เมืองจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "ที่ประทับเที่ยง" และเพี้ยนเสียงเป็น "ทับเที่ยง" ในที่สุด เมื่อชาวเมืองตรังได้ถวายฎีกาขอ พระราชทานเจ้าเมืองคนใหม่ พระองค์จึงทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)ให้เป็นเจ้าเมืองตรังเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมเมืองตรัง ให้เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่สำหรับรองรับสินค้าจากปีนัง ในตอนนั้นมีการตัดถนนเส้น ทางเขา พับผ้าเชื่อมกับพัทลุง พระยารัษฏาฯ จึงได้ขอพระบรมราชานุญาติจากรัชกาลที่ห้า ย้ายเมือง ควนธานีไปตั้งอยู่ที่กันตัง ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดสงครามโลก ครั้งที่หนึ่งขึ้น พระองค์ทรงห่วงว่าพสกนิกรจะเดือดร้อนหากถูกรุกราน ทางทะเล เนื่องจาก บริเวณกัน ตังเป็นที่ลุ่มติดน้ำ จึงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองตรังจากกันตัง มาอยู่ที่ ตำบลทับเที่ยงตาม เดิม (ข้อมูลจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตรัง และคุณลุงเปรียม วรตันติ. สัมภาษณ์ : 2550)
|